Social Graph คือ ผังความสัมพันธ์ระหว่างคนหรือ Data ในเรื่องต่างๆ โดย Social Graph ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นกระดูกสันหลังให้กับ Social Network ในยุคปัจจุบันมากมาย จนมาถึงในยุค Web3.0 ที่แนวคิดในเรื่อง Social Graph ถูกนำมาออกแบบให้มีความ Decentralized ขึ้น และผู้ใช้งานมีสิทธิในการเป็นเจ้าของของข้อมูลตัวเองอย่างแท้จริงในรูปแบบของ Social Graph Protocol
บทความนี้จะพาทุกคนให้รู้จักกับ Social Graph Protocol บน Web3.0 ทั้งในเรื่องของนัยยะความสำคัญและการใช้งานในปัจจุบัน
Social Graph หรือ Sociograms คือผังโครงข่ายของความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ต่างๆระหว่างคนหรือภายในระหว่างกลุ่มหนึ่ง จากรูปด้านบนบุคคลต่างๆจะถูกใช้เป็น Node และความสัมพันธ์จะถูกเชื่อมต่อกันด้วยเส้น Link ต่างๆ Concept ของ Social Graph ถูกคิดค้นและใช้งานมาตั้งแต่ก่อนยุคดิจิตอล จนกระทั่งถูกนำมาใช้บน Social Media ต่างๆในยุค Web2.0
1970s-1980s: ในช่วงต้นของยุคอินเทอร์เน็ต แม้ว่าอุปกรณ์ต่างๆยังไม่ได้เอื้อให้เกิด Social Network ที่ใช้งานและโต้ตอบกันได้ ยุคนั้นเริ่มเกิด Community ออนไลน์และ Bulletin Board Systems (BSS)
กำเนิด Social Networks
1997: SixDegrees.com เป็นแพลตฟอร์มแรกที่มีความเป็น Social Network โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างโปรไฟล์ เชื่อมต่อกับเพื่อน ร่วมถึงมองเห็นเพื่อนร่วมกันได้ ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มแรกที่เริ่มนำ Social Graph มาใช่งานออนไลน์
2007: Mark Zuckerberg หรือ CEO ของ Meta (อดีต Facebook) นำคำว่า ‘Social Graph’ มาใช้ในการอธิบายหลักการทำงานของการเชื่อมความสัมพันธ์ใน Social Network ทำให้คำๆนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
การมี Social Graph เป็นผังการเชื่อมโยงกันของข้อมูลทำให้หลากหลายฟังก์ชันใช้งานได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพขึ้น เราสามารถมองเห็นการนำ Social Graph มาใช้งานตามแพลตฟอร์มต่างๆได้ดังนี้:
การสร้าง Networking ธุรกิจ: Linkedin ใช้ Social Graph ในการช่วยเสริมสร้าง Connection ทางธุรกิจและโอกาสในการหางานต่างๆ
การแนะนำกลุ่มหรือ Community: Social Graph สามารถใช้บ่งบอกได้ว่าเราสนใจเรื่องไหนเป็นพิเศษน์ ซึ่งสิ่งนี้สามารถทำให้ Social Network แนะนำกลุ่มที่เราอาจจะสนใจเข้าไปร่วมได้
การทำโฆษณาบน Social Network: ในการทำธุรกิจและการทำโฆษณาให้เจอกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ Social Graph เป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้สามารถนำเสนอเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของกลุ่มอายุ หรือความสนใจต่างๆ
Social Graph คือ แผนผังแสดงความเชื่อมโยงระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน หรือคนกับข้อมูลในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะเป็นกระดูกสันหลังในการสร้าง Social Network
หมายความว่า Social Graph ไม่ใช่ Facebook ทั้งหมด และไม่ใช่ Instagram ทั้งหมด แต่เป็นกระดูกสันหลังให้กับระบบต่างๆบนแพลตฟอร์มนั้นๆ
Social Graph Protocol ถูกออกแบบภายใต้ concept หลักคือเรื่องของ Decentralization และ Ownership ซึ่งแก้ปัญหาจากข้อกังวลต่างๆจากการใช้ Social Graph บน Web2.0 และเปิดอิสระในการเลือกใช้แพลตฟอร์มมากขึ้น
เมื่อมี Social Graph ที่ Decentralized แล้ว นักพัฒนาสามารถออกแบบ Social Network Application แบบไหนก็ได้เพื่อมาเกาะกับ Social Graph ตัวนั้นๆได้ทันที โดยไม่มีความจำเป็นให้ผู้ใช้งานต้องมาเริ่มใช้งานใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นโดยไม่มี Connection กับใครบนแพลตฟอร์มนั้นๆเลย
โปรไฟล์ของ Social Graph Protocol จะถูกใช้เป็นรูปแบบ NFT ซึ่งเราสามารถเอามาใช้ ส่งต่อ หรือขายต่อได้ตามที่เราต้องการ เช่นเดียวกันกับ FollowerNFT และ Content ต่างๆที่เรา Upload ลงบน Social Graph Protocol
- 3.2 จุดเด่นของ Social Graph Protocol บน Web3.0
Decentralization Social Graph Protocol ซึ่งอยู่บนรากฐานของ Public บล็อกเชนเป็นการช่วยให้ฐานข้อมูลของเราไม่ถูกเปลี่ยนแปลงไปหรือถูกยึดไปโดยแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งได้เหมือนกับระบบแบบ Centralized ใน Web2.0
Interoperability การเชื่อมต่อกับระบบและ dapps อื่นๆบนบล็อกเชนได้ ไม่ว่าจะเป็น Social Network, การเงิน, สิ่งบันเทิงต่างๆ, การศึกษา, การหางาน อิสระในการเลือกการเชื่อมต่อกับทุกอย่างเป็นข้อดีของ Social Graph Protocol
Privacy and Data Ownership Social Graph Protocol ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดความ Privacy และความสามารถในการกำหนด เปิดเผย และใช้งานข้อมูลต่างๆเองได้หมด ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ต่างจาก Web2.0 ที่ข้อมูลทุกอย่างจะอยู่ในมือของเจ้าของแพลตฟอร์ม
Community Governance แทนที่ระบบของข้อมูลต่างๆจะถูกกำหนดได้โดยเจ้าของแพลตฟอร์ม การที่ Social Graph Protocol อยู่บน Web3.0 จะทำให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ในการแสดงความต้องการความเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาในระบบ
- 3.3 Social Graph Protocol และ SocialFi คือสิ่งเดียวกันหรือไม่?
ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ถึง SocialFi ต่างๆที่เป็น Social Network บน Web3.0 เช่น Friend.tech, Torum, และอื่นๆ สิ่งนี้คือสิ่งเดียวกับ Social Graph Protocol รึเปล่า?
SocialFi คือ Social Network Dapps แต่ Social Graph Protocol คือโครงสร้างของ Social Network
Social Graph Protocol เป็นเพียงผังความสัมพันธ์ด้านหลัง ซึ่งเป็นรากฐานในการต่อยอดไปสร้าง dapps อื่นๆที่หลากหลายตามต้องการ โดยการสร้างจะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ของเครือข่ายมากกว่า
SocialFi คือ Dapps ที่เชื่อมต่อระหว่างความเป็น Social Media และ Finance ซึ่งจะเน้นไปที่การสร้าง incentives ต่างๆตามการใช้งานของคน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการสร้าง content การให้ stake token เพื่อสนับสนุน Creator ที่ชอบ
Social Graph Protocol เป็น move ที่สำคัญและแสดงถึง Use case ที่สำคัญของบล็อกเชนที่สามารถสร้างเครือข่ายที่มีความ Decentralized และก่อให้เกิด Ownership ให้กับคนที่มาใช้งานได้
ไม่ว่าจะเป็น Lens หรือ CyberConnect ต่างก็มีแนวทางในการพัฒนาและทดลอง Social Graph Protocol ในรูปแบบที่ต่างกันออกไป นวัตกรรมที่สามารถเกิดได้จากการพัฒนาสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าติดตามเป้นอย่างมาก